วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เทคนิคการว่ายท่ากบ

เทคนิคการว่ายท่ากบ

ก่อนอื่นท่านไม่สามารถเคลื่อนไหวแบบลูกคลื่นได้สมบูรณ์ เนื่องจากเหตุผลหลายประการ เช่น รูปร่างและกล้ามเนื้อของมนุษย์ไม่สมดุลกันทั้งหมดในขณะที่ว่าย คลื่นในสระน้ำมีผลกระทบการว่ายและที่สำคัญการเหนื่อยล้าของผู้ว่ายย่อมทำให้เทคนิคการว่ายแย่ลงกว่าเดิมมาก อย่างไรก็ตาม นักว่ายน้ำควรวางเป้าหมายที่จะว่ายในเทคนิคลูกคลื่นที่สมบูรณ์แบบที่สุดซึ่งพอสรุปคุณสมบัติเด่น ได้ดังนี้

1. ตำแหน่งลอยตัวถือเป็นฐานของการว่ายท่านี้ ต้องลอยตัวบนผิวน้ำให้เรียบที่สุด เพื่อมีการต้านทาน น้ำน้อยที่สุด ลำตัวยืดตรงตลอด หัวไหล่และก้นอยู่ในระดับต่ำกว่าผิวน้ำเล็กน้อยและแขนยืดไปข้างหน้า

2. หัวไหล่เคลื่อนไหวแบบลูกคลื่น หัวไหลอยู่ใต้ผิวน้ำในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้นเพื่อพยุงก้นและเอวให้สูง
3. แขนจะเริ่มให้ความเร็วเบื้องต้น ลักษณะโถม ตัวและเตะขาจะตามมาภายหลัง แต่ทุกอย่าง การดึงแขน การโถมตัวและการเตะขา จำเป็นต้องประสานกันอย่างนุ่มนวลและต่อเนื่อง
4. แผ่นหลังอยู่เหนือน้ำตลอด สิ่งสำคัญก็คือ เมื่อลำตัวลอยสู่ผิวน้ำแผ่นหลังจะไม่ยกน้ำขึ้นมาตรง ๆ แต่จะค่อย ๆ สอดขึ้นมาจากผิวน้ำ

5. ตำแหน่งของลำตัว หน้าอก และท้องลอยอยู่เหมือนท้องเรือตลอดทั้งสโตร์ค นอกจากในช่วงของการลอยตัว เท่านั้นที่หน้าท้องหุบขึ้นเหนือระดับของหน้าอก เพื่อให้ตัวสามารถลอยได้สูงที่ระดับผิวน้ำ
6. ในระหว่างที่จบการดึงแขนและแขนกลับสู่การเหยียดตรงข้างหน้า หัวไหลจะถูกพยุงด้วยแรงที่เกิดขึ้นที่ฝ่ามือ
7. เมื่อจบสโตร์ค ผู้ว่ายต้องเหยียดมือออกมาไปข้างหน้าให้ไกลที่สุด เพื่อสามารถจับน้ำ ( Catch ) อย่างเต็มที่



ไม่มีความคิดเห็น: