วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การกลับตัว



6 ขั้นตอนของการกลับตัวแบบ Tumble Turn

1. การว่ายด้วยท่าฟรีสไตร์คไปข้างหน้าจนใกล้ถึงผนังสระ มองผ่านลงไปในน้ำสังเกต
จุดสิ้นสุดซึ่งจะเห็นสัญลักษณ์รูปตัว " T "

2. ครึ่งทางระหว่างตัว T ใต้น้ำและ ตัว T ที่ผนังเมื่อจวงแขนสุดท้ายดึงใต้น้ำ ให้เริ่มกด
หัวก้มลง เก็บคางและโค้งตัวตั้งแต่คอจนถึงเอว ไปข้างหน้ามือทั้งสองข้างวางอยู่ใกล้
สะโพก

3. เมื่อตีลังกาได้ครึ่งหนึ่ง ให้แขนของท่านอยู่สูงกว่าหัว จัดการทรงตัวและหมุนแขน
สะโพกต้องอยู่เหนือน้ำ โดยใช้ฝ่ามือและการสะบัดเข้าช่วยในการยกสะโพกให้สูงขึ้น เมื่อก้มตัว
จนศีรษะกลับมาอีกทางหนึ่งให้พับเท้าทั้ง 2 โดยการงอเข่า ใช้มือทั้งสองช่วยกดน้ำเพื่อเหวี่ยง
สะโพก และเท้าเข้าหาผนังให้เร็ว ขาข้างหนึ่งสูงกว่าขาอีกข้าง

4. ขณะที่เท้าทั้งสองสัมผัสผนังและถีบออกอย่างเต็มพลัง ลำตัวจะเหยียดตรงในลักษณะตะแคง
มือทั้งสองเหยียดตรงแนบหู

5. เมื่อหมุนตัวและถีบออกจากผนัง ให้แตะเท้าทั้งสองข้าง ด้วยการ Streamlined ซึ่งแขนเหยียดตรงจนรู้สึกได้ว่าหมดแรงส่งตัวจากการถีบผนัง จุดนี้คืออีกเสี่ยวหนึ่งของการกลับตัว



6. สโตร์กแรกที่อยู่ใต้น้ำ ให้ดึงมือผ่านน้ำเพื่อยกตัวขึ้น โดยใช้มือและช่วงแขนดึงผ่านน้ำ
เป้าหมายคือการดึงน้ำสองสโตร์กก่อนหายใจ





เทคนิคการว่ายท่ากบ

เทคนิคการว่ายท่ากบ

ก่อนอื่นท่านไม่สามารถเคลื่อนไหวแบบลูกคลื่นได้สมบูรณ์ เนื่องจากเหตุผลหลายประการ เช่น รูปร่างและกล้ามเนื้อของมนุษย์ไม่สมดุลกันทั้งหมดในขณะที่ว่าย คลื่นในสระน้ำมีผลกระทบการว่ายและที่สำคัญการเหนื่อยล้าของผู้ว่ายย่อมทำให้เทคนิคการว่ายแย่ลงกว่าเดิมมาก อย่างไรก็ตาม นักว่ายน้ำควรวางเป้าหมายที่จะว่ายในเทคนิคลูกคลื่นที่สมบูรณ์แบบที่สุดซึ่งพอสรุปคุณสมบัติเด่น ได้ดังนี้

1. ตำแหน่งลอยตัวถือเป็นฐานของการว่ายท่านี้ ต้องลอยตัวบนผิวน้ำให้เรียบที่สุด เพื่อมีการต้านทาน น้ำน้อยที่สุด ลำตัวยืดตรงตลอด หัวไหล่และก้นอยู่ในระดับต่ำกว่าผิวน้ำเล็กน้อยและแขนยืดไปข้างหน้า

2. หัวไหล่เคลื่อนไหวแบบลูกคลื่น หัวไหลอยู่ใต้ผิวน้ำในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้นเพื่อพยุงก้นและเอวให้สูง
3. แขนจะเริ่มให้ความเร็วเบื้องต้น ลักษณะโถม ตัวและเตะขาจะตามมาภายหลัง แต่ทุกอย่าง การดึงแขน การโถมตัวและการเตะขา จำเป็นต้องประสานกันอย่างนุ่มนวลและต่อเนื่อง
4. แผ่นหลังอยู่เหนือน้ำตลอด สิ่งสำคัญก็คือ เมื่อลำตัวลอยสู่ผิวน้ำแผ่นหลังจะไม่ยกน้ำขึ้นมาตรง ๆ แต่จะค่อย ๆ สอดขึ้นมาจากผิวน้ำ

5. ตำแหน่งของลำตัว หน้าอก และท้องลอยอยู่เหมือนท้องเรือตลอดทั้งสโตร์ค นอกจากในช่วงของการลอยตัว เท่านั้นที่หน้าท้องหุบขึ้นเหนือระดับของหน้าอก เพื่อให้ตัวสามารถลอยได้สูงที่ระดับผิวน้ำ
6. ในระหว่างที่จบการดึงแขนและแขนกลับสู่การเหยียดตรงข้างหน้า หัวไหลจะถูกพยุงด้วยแรงที่เกิดขึ้นที่ฝ่ามือ
7. เมื่อจบสโตร์ค ผู้ว่ายต้องเหยียดมือออกมาไปข้างหน้าให้ไกลที่สุด เพื่อสามารถจับน้ำ ( Catch ) อย่างเต็มที่



เทคนิคการว่ายท่ากรรเชียง


เทคนิคการว่ายท่ากรรเชียง
การว่ายท่ากรรเชียงเป็นท่าว่ายที่สวยที่สุด การว่ายกรรเชียงมีประโยชน์ที่จะยืดกล้ามเนื้อ การว่ายกรรเชียง มีหลักเกณฑ์คล้าย ๆ กับการว่ายท่าฟรีสไตล์ แตกต่างที่ท่ากรรเชียงเป็นการหงายตัวราบกับระดับน้ำ แต่การว่ายฟรีสไตล์เป็นการคว่ำตัว และการวางมือหรือผลักน้ำที่เหมาะมือเป็นอัจฉริยะของนักว่ายน้ำ การเรียนรู้ข้อผิดพลาดในการว่ายกรรเชียง ต้องพยายามศึกษาขณะปฏิบัติในน้ำ การยกหัวสูงเกิน การดันมือไปที่ตะโพกและการนอนหงายเหมือนเรือท้องแบนเป็นการต้านน้ำโดยแผ่นหลัง


ต่อไปนี้เป็นการแนะนำการว่ายกรรเชียง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การว่ายและเรียนรู้ใช้ความคิดด้วยตัวคุณจะพัฒนาทักษะการว่ายโดยธรรมชาติด้วยตัวเองของคุณ และส่วนสำคัญอย่างมากคือการลื่นไหลและการต้านของน้ำ

1. ให้น้ำดันตัวคุณขึ้น- คุณต้องไว้ใจมันที่จะทำให้ตัวคุณลอย
2. ยืดตัวยาวขนานกับพื้นน้ำและน้ำอยู่ระหว่างซี่โครงของคุณ และผลักมือให้ลำตัวเคลื่อน
3.วางหัวให้ไปด้านหลัง และยึดคอโดยไม่หันหน้าซ้ายขวา
4.ทำตัวสบาย ๆ ผ่อนคลาย ไม่ใช่แข็งเหมือนท่อนไม้
5.เคลื่อนตัวขนานกับน้ำ
6.ยกตะโพกของคุณ ขึ้นข้างบน
7.เตะขาขึ้นลงอย่างถูกต้อง
8.หมุนสะโพกของคุณ ตามจังหวะการว่าย
9.การเตะเท้าอย่าให้เข่าและเท้าอยู่เหนือผิวน้ำ
10.ขณะเริ่มออกตัวให้จัดลำตัวให้ตรง
11.เหยียดแขนให้ตรงขณะที่ออกมาจากน้ำ
12.ทำแขนโค้งงอดึงใต้น้ำ
13.เมื่อถึงธงต้องนับจำนวนแขนของคุณ จากธงถึงกำแพง หากหัวชนกำแพงจะได้รับบาดเจ็บ

เทคนิคการว่ายท่าผีเสื้อ

เทคนิคการว่ายท่าผีเสื้อ




Butterfly คือท่าว่ายที่ยากของการที่จะเรียนรู้ท่าว่ายนี้ต้องการกล้ามเนื้อจำนวนมากและข้อต่อและเคลื่อนไหวของไหล่และช่วงหลังถึงสะโพก การว่ายน้ำท่านี้ต้องการจังหวะที่ดีของแขนและการเตะขาและจังหวะการหายใจ (breathing) Flippers ( swimfins ) คือผู้ช่วยซึ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ที่จะว่ายน้ำท่าผีเสื้อ ( butterfly stroke ) การฝึกฝนและการเรียนรู้ในการหมุนหัวไหล่จะช่วยในการว่ายให้ดีขึ้น ถ้าคุณมีความรู้สึกที่จะดูการว่ายของปลาโลมา, สิ่งนั้นคือท่าว่ายสำหรับคุณ เพราะเมื่อคุณดูนักว่ายน้ำว่ายท่าผีเสื้อและรู้สึกมีชีวิตชีวาและมีจินตนาการการว่ายของปลาโลมา นั่นแหละคุณกำลังจะเป็นนักว่ายน้ำท่าผีเสื้อที่ดีในอนาคต



เส้นทางนำร่องการว่าย butterfly ดังต่อไปนี้ การว่ายพร้อมทั้งการเรียนรู้ในความคิดของคุณจะช่วยคุณที่จะพัฒนา สไตล์โดยธรรมชาติด้วยตัวเองของคุณ และที่สำคัญที่สุดคือความรู้ของการลื่นไหลของการว่ายของคุณเอง สิ่งที่ดีคือการดูนักว่ายน้ำที่มีความสามารถในท่าผีเสื้อ ว่ายเหนือน้ำและใต้น้ำ
1. รักษาการเป็นลูกคลื่นในส่วนของร่างกายทั้งหมดเป็นจังหวะลูกคลื่น
2. ว่ายโดยปราศจาก Flippers โดยว่ายแบบปลาโลมา หรือที่เราเรียกว่า Stream Line ฝึกในระยะ 10 - 15 เมตร

3. ว่ายโดยใช้ Flippers และใช้ขาแบบปลาโลมาแขนเหยียดตรงไปด้านหน้า และอีกครั้งใช้แขนแนบลำตัว อย่างละครั้งในเทียวไปและกลับ
4. ฝึกทำแขนท่าผีเสื้อ ( butterfly ) ข้างหน้ากระจก
5. ฝึกหายใจเมื่อแขนของคุณกำลังผ่านสะโพก
6. ร่างกายของคุณ จะปฏิบัติตามหัวของคุณ ในการที่จะรักษาการเป็นลูกคลื่น
7. เตะขาสองครั้งต่อการหมุนแขนหนึ่งครั้ง
8. อย่าเกร็งแขน ! ในจังหวะยกขึ้นเหนือน้ำและลงในน้ำ 9. เก็บหน้าอกของคุณในระดับที่ต่ำในน้ำ, ยกคางของคุณเพื่อที่จะได้รับอากาศ

เทคนิคการว่ายท่าFreestyle



เทคนิคการว่ายท่าFreestyle
Freestyle คือ การว่ายน้ำที่ไม่จำกัดแบบหรือท่า ในการแข่งขันคุณจะว่ายแบบใดก็ได้ แต่การว่ายฟรีสไตล์เป็นการว่ายที่เร็วที่สุดการว่ายแบบฟรีสไตล์เป็นอย่างไร ? การว่ายท่านี้เป็นการนอนคว่ำลงในน้ำ หมุนแขนของท่านผ่านใต้น้ำและเหนือน้ำอย่างต่อเนื่อง ขาของท่านต้องเตะขึ้นลงอย่างสม่ำเสมอ และหายใจเมื่อท่านหมุนหน้าไปด้านข้าง มีคำพูดที่ว่าการว่ายท่านี้ง่ายมาก แต่มันก็ยังมีอีกเป็นจำนวนมากที่เราจำเป็นต้องรู้
เส้นทางนำร่องการว่ายน้ำไม่จำกัดแบบหรือท่า (Freestyle) ดังต่อไปนี้ เมื่อออกไปปฏิบัติจริงแล้ว การว่ายและการเรียนรู้ในความคิดจะช่วยให้คุณพัฒนาสไตล์ได้โดยธรรมชาติด้วยตัวเองของคุณ และที่สำคัญอย่างมากคือการเคลื่อนตัวไม่ให้เกิดการต้านน้ำ หรือเกิดการต้านน้ำน้อยที่สุด






13 ข้อที่คุณควรรู้

1. นอนอยู่ในน้ำ ถ้าคุณทำได้ก็เป็นสิ่งที่ดี
2. ให้น้ำเป็นตัวช่วยพยุงคุณไม่ให้จม
3. ทำตัวสบาย ๆ อย่าเกร็ง
4. เคลื่อนตัวไปข้างหน้า จัดลำตัวให้ลอยอยู่ผิวน้ำ
5. วางหน้าอกคุณลงใต้น้ำและก้มหัวลงต่ำเล็กน้อย ตัวคุณจะค่อย ๆ สมดุลการนอนคว่ำและ เคลื่อนตัวไปข้างหน้าจะ เป็นการช่วยสร้างสมดุลย์
6. พัฒนาความรู้สึกที่มือและแขนของท่านเมื่อผ่านลงไปใต้น้ำ
7. เอียงหัวไหล่ลงเล็กน้อยเมื่อแขนและมือข้างนั้นกำลังผ่านหรือผลักน้ำ อย่าทำตัวตรงแบนราบตลอดเวลา
8. ทำการว่ายแบบช้าแต่ดึงแขนยาวในขณะที่เริ่มกับมัน
9. การเคลื่อนที่ผ่านน้ำคุณจำเป็นต้องเหยียดแขนและมือไปข้างหน้า
10. หายใจออกอย่างมุ่งมั่นในน้ำ และสร้างระบบการหายใจที่ต่อเนื่อง
11. เก็บหูของคุณไว้ในน้ำขณะที่คุณกลั่นหายใจและดูลงแขนของคุณ
12. ใช้ไหล่ของคุณที่จะนำมาแขนของคุณและมือของคุณ พุ่งแทงน้ำไปข้างหน้า
13. เตะขึ้นและลง โดยเตะจากสะโพกของคุณลงถึงเท้าของคุณ

ประวัติการว่ายน้ำ


ประวัติการว่ายน้ำ

กีฬาว่ายน้ำ (Swimming) ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะมนุษย์สามารถว่ายน้ำได้ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มนุษย์ที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามชายทะเล แม่น้ำ ลำคลอง และที่ราบลุ่มต่างๆ เช่น พวกเอสซีเรีย อียิปต์ กรีก และโรมัน มีการฝึก หัดว่ายน้ำ กันมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาล เพราะมีผู้พบภาพวาดเกี่ยวกับการว่ายน้ำในถ้ำบนภูเขาแถบทะเลทรายลิบยาน การว่ายน้ำ ได้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน แต่มีหลักฐานบันทึก ไว้ไม่นานนัก Ralph Thomas ให้ชื่อแบบว่ายน้ำที่ มนุษย์ใช้ว่ายกันมาตั้งแต่เดิมว่า ฮิวแมน สโตร์ก (Human stroke) นอกจากนี้พวกชนชาติสลาฟและพวกสแกนดิเนเวียรู้จักการว่ายน้ำอีกแบบหนึ่ง โดยใช้เท้าเคลื่อนไหวในน้ำคล้ายกบว่ายน้ำ หรือที่เรียกว่าฟล็อกคิก (Flogkick) แต่วิธีการเคลื่อนไหวของท่าแบบนี้จะทำให้ว่ายน้ำได้ไม่เร็วนัก

Alex Wickham ชาวเกาะโซโลมอนเป็นผู้ริเริ่มการว่ายน้ำแบบท่าวัดวาและเป็นผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศของโลก ระยะทาง 50 หลา เขาได้กล่าวว่าเด็กโซโลมอนทุกคนว่ายน้ำแบบนี้ทั้งนั้น ต่อมาท่าว่ายน้ำแบบวัดวาจึง เป็นที่นิยมฝึกหัดกันโดยทั่วไป กีฬาว่ายน้ำได้จัดเข้าไว้ในการแข่งขันโอลิมปิกเมื่อปี พ.ศ. 2436 และ ได้จัดการแข่งขันมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุดังกล่าวกีฬาว่ายน้ำก็ได้รับความ สนใจจากคนทั่วไป และถือเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก มีการพัฒนากีฬาว่ายน้ำให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นเป็นลำดับโดยมีผู้คิดแบบและประเภทของ การว่ายน้ำเพื่อความสนุกสนาน และความตื่นเต้นในการแข่งขันมากขึ้น